เกี่ยวกับโครงการ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 วรรคสาม กำหนดไว้ว่า “การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติสามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตนและมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ” ประกอบกับมาตรา 65 กำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มาตรา 22 กล่าวว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ประกอบกับความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ 21 ทั้งในส่วนที่เป็นแรงกดดันภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจากการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0 (The Fourth Industrial Revolution) การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 2573 (Sustainable Development Goals :SDGs 2030) ความต้องการกำลังคนที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 อีกทั้งแรงกดดันจากภายในประเทศ การติดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรมปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ปัญหาด้านการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารภาษาต่างประเทศ อีกทั้งด้านทักษะ ด้านกีฬา ทักษะอาชีพด้านอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ด้านความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคมและด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดการเรียนรู้ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้กำหนดหลักการในข้อ 2 ที่ให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ ข้อ 3 ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น และข้อ 5 เป็นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ผ่านมาจึงมีการดำเนินการที่จะปรับหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการศึกษาที่มีเนื้อหาสาระที่ตอบสนองความถนัดและความสนใจที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละบุคคล ตามหลักพหุปัญญาให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีโลกในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนจึงต้องเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาในมิติที่กว้างขึ้นมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีความเป็นสากลมีการพัฒนาทักษะการคิด มีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีการสอนด้านเทคโนโลยีและอาชีพ ภาษาต่างประเทศ (จากบทสรุปผู้บริหารเล่มคู่มือการเปิดห้องเรียนพิเศษ ระดับเขตฯ 2549)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มาตรา 22 กล่าวว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพกระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงส่งเสริมให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเปิดห้องเรียนพิเศษ โดยแยกการดำเนินการออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. การเปิดห้องเรียนพิเศษโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายถึงห้องเรียนที่สถานศึกษามุ่งเน้นการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาการขอเปิดห้องเรียนพิเศษของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  2. การเปิดห้องเรียนพิเศษ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง ห้องเรียนที่สถานศึกษามุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถตามโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงเป็นห้องเรียนตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขยายฐานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศซึ่งเป็นโครงการที่ตอบโจทย์ที่สำคัญในการพัฒนาคนที่เป็นขุมกำลังของชาติ และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองโดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน คือ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามยุทธศาสตร์การแข่งขันของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนพิเศษแตกต่างจากเด็กปกติทั่ว ไป รวมทั้งได้รับการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการเพิ่มพิเศษ เช่น การเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ ทัศนศึกษา ฝึกงานกับนักวิจัย ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้ไปนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ โดยโครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวน 183 แห่ง และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจ านวน 220 แห่ง โดยมีการบริหารจัดการผ่านโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 9 เครือข่าย แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ของประเทศโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2567 มีโรงเรียนในโครงการ จำนวน 183 แห่ง มีการบริหารจัดการในลักษณะเครือข่าย จำนวน 9 เครือข่าย แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ของประเทศ เป็นโครงการตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีโรงเรียนแม่ข่าย ดังนี้

  1. โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โรงเรียนแม่ข่ายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
  2. โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช โรงเรียนแม่ข่ายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
  3. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนแม่ข่ายของภาคเหนือตอนบน
  4. โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โรงเรียนแม่ข่ายของภาคเหนือตอนล่าง
  5. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ (นครศรีธรรมราช) โรงเรียนแม่ข่ายของภาคใต้ตอนบน
  6. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โรงเรียนแม่ข่ายของภาคใต้ตอนล่าง
  7. โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนแม่ข่ายของภาคกลางตอนบน
  8. โรงเรียนสงวนหญิง โรงเรียนแม่ข่ายของภาคกลางตอนล่าง
  9. โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โรงเรียนแม่ข่ายของภาคตะวันออก

โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 มีโรงเรียนในโครงการ จำนวน 220 แห่ง มีการบริหารจัดการในลักษณะเครือข่าย จำนวน 9 เครือข่าย แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ของประเทศ เป็นโครงการตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมีโรงเรียนแม่ข่าย ดังนี้

  1. โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย โรงเรียนแม่ข่ายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
  2. โรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนแม่ข่ายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
  3. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนแม่ข่ายของภาคเหนือตอนบน
  4. โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โรงเรียนแม่ข่ายของภาคเหนือตอนล่าง
  5. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช โรงเรียนแม่ข่ายของภาคใต้ตอนบน
  6. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โรงเรียนแม่ข่ายของภาคใต้ตอนล่าง
  7. โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนแม่ข่ายของภาคกลางตอนบน
  8. โรงเรียนศรัทธาสมุทร โรงเรียนแม่ข่ายของภาคกลางตอนล่าง
  9. โรงเรียนชลกันยานุกูล โรงเรียนแม่ข่ายของภาคตะวันออก

จุดประสงค์

  1. เพื่อขยายฐานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
  2. มุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองโดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์